ภาพต่อไปนี้เป็นการแก้ไขระบบในส่วนต่างๆ ให้ต่างจากที่มาจากโรงงาน เพื่อสะดวกต่อการใช้งานของเราเองก็ตามสไตล์ผมแหละครับ เราทำงานด้านสื่อสารมากว่า 30 ปี เห็นอะไรเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสัญญาณ ระบบงานแก้ไขการรบกวนต่างๆ ไม่ว่ารบกวนจากความถี่ต่ำ-สูง ทำให้คำสั่งต่างๆที่ส่งไปหาแท่นหรือโต๊ะกัดชิ้นงานผิดพลาดหรือเพี้ยน ก็ให้เดาว่าไว้ก่อนหรือตัดไฟต้นลมไปก่อนเหตุจะเกิด
เพราะเท่าที่ไปค้นข้อมูลจากเว็บต่างๆ ก็พบว่ามีการรับ/ส่งคำสั่งผิดพลาด
หลายเว็บก็บอกว่าห้ามลงกราวด์ระบบต่างๆเด็ดขาด ประโยคนี้แหละที่มันค้างคาใจผม ว่าทำไมจะลงกราวด์ไม่ได้ ถ้าลงแล้วจะเกิดการรบกวนคำสั่ง ผมงงกับคำพูดนี้มาก มันรู้จริงหรือมันมั่วกันแน่ มีที่ไหนลงกราวด์แล้วเกิดการรบกวนระบบคำสั่ง หรือลงกราวด์ถูกวิธีหรือไม่ ประเด็นนี้หรือไม่ที่ถกเถียงกัน
สำคัญไปกว่านั้น ช่วงทดสอบเดินเครื่องของผมใหม่ๆ ช่างที่วางระบบให้ผมก็บอกว่า "คำสั่งทำงานผิดพลาดนะพี่ พี่ไปทำอะไรระบบหรือปล่าว" ผมตอบไปว่า "ผมลงกราวแท่นเครื่อง" จากนั้นผมก็ไปปลดออก แต่เอ.... คาใจหว่ะ มันไม่น่าใช่ละ
ภาพต่อไปนี้เลยเป็นที่มาที่ไปของการตัดไฟต้นลม
ภาพแรก เปิดฝาตู้คอนโทรลในส่วนด้านหน้าออกมา จะพบชุดควบคุมความเร็วหัวสปินเดิล และชุดเบรคเกอร์ไฟฟ้าหลัก
ท่านสังเกตุภาพแรกหรือไม่ ผมได้ใส่ตัวฟิลเตอร์ความถี่สูงแบบภาพนี้ลงไป 2 ตัว อยู่ด้านซ้าย และขวา คือตัว
ferrite core คร่อมสายเอซี และสายสัญญาณต่างๆ
ตัวนี้มีประโยชน์มากมายมหาศาล ซื้อเก็บติดบ้านไว้เลย เรียกว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านเลยก็ได้
ถ้าเราเป็นช่างสังเกตุที่สายดีซีตรงที่มาเสียบโน๊ตบุ้ค จะมีกระเปาะหนาๆ หุ้มด้วยพลาสติค นั่นละเค้าละเจ้าตัวนี้แหละ
ที่เห็นผลชัดเจนถ้าใครมีเครื่องปรับอากาศรุ่นเก่าที่มีชุดรีโมทแบบสายมายึดติดผนังใกล้มือเรา แล้วใกล้ๆกันมีสวิทช์ปิด-เปิดไฟแสงสว่างอยู่ด้วย เวลาท่านปิด-เปิดไฟแสงสว่างขณะเครื่องปรับอากาศทำงานอยู่ เครื่องปรับอากาศจะดับหรือรีเซ็ตทันที ผมก็เอาตัวเฟอร์ไรท์คอร์ที่ว่ามาคร่อมรัดสายรีโมทซ๊ะหนึ่งตัว ผลคืออาการแอร์ตัดหรือรีเซ็ตตัวเองหายไปทันที
นี่ครับ การนำ ferrite core ไปใช้งานในลักษณะต่างๆกัน
ไปเจอเจ้าตัวนี้มีขายที่ไหนซื้อเก็บไว้เถอะครับ มันมีประโยชน์มากมาย เพราะนับจากนี้ไประบบอีเล็คทรอนิคส์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญขึ้นทุกวัน และเช่นกัน การรบกวนซึ่งกันและกันย่อมจะเกิดขึ้นตามมา ถึงแม้ว่าอุปกรณ์บางตัวมันมี ferrite core ใส่มาแล้ว ก็อย่าไปชะล่าใจเกินไป เพราะพวกเราส่วนมากจะไม่ค่อยมีความรู้พื้นฐานกันสักเท่าไหร่ เช่นชอบเดินสายอุปกรณ์ต่างๆไปเรียบเคียงกับสายไฟฟ้า ตัวอย่างนี่แหละคือสาเหตุการรบกวนข้ามอุปกรณ์เลยทีเดียว ขอให้จำไว้เลยว่าสายไฟฟ้ามันจะมีสนามแม่เหล็กที่แผ่ออกมารอบตัวนำตลอดเวลา ถ้าสายเส้นนั้นมีโหลดที่อยู่ปลายทางเยอะ แน่นอนครับสนามแม่เหล็กยิ่งแผ่ออกมามากทวีคูณ มันจึงเหนี่ยวนำเข้าไปอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้มัน และกว่านั้นในสนามแม่เหล็กที่แผ่ออกมานั้นมันไม่มีแค่ของมันอย่างเดียว มันจะมีความถี่แปลกปลอมหลุดเล็ดลอดกวนตัวอื่นด้วย นี่แหละคือจุดสำคัญ
(ผมพยายาม ลด หรือใช้ศัพท์เทคนิคลงแทบไม่เหลือแล้วนะ ยังมีหลายคนที่มาอ่านแล้ว งง.. และโทรมาบอก เอาละสิให้ผมทำไง..)จริงๆแล้วสายนำสัญญาณทุกชนิด ต่างก็มีสนามแม่เหล็กแผ่ออกมาหมดแหละ เพียงแต่ว่าออกมากออกน้อยเท่าไร ไอ้ที่แผ่ออกมานี่แหละมันไปกวนอุปกรณ์ข้างเคียงครับ เราจึงต้องมีความรู้ค่อนข้างมาก ว่าการรบกวนแบบนี้มีข้อดีข้อเสียยังไง การรบกวนแบบไหนที่เราไม่ต้องการ และเรามีการจัดการการรบกวนในแบบต่างๆอย่างไร เรื่องนี้ถ้าคุยกับผมบอกเลยว่ายาวครับ...
ภาพต่อมาดูกันชัดๆ ผมใส่อะไรไว้อีก
ให้สังเกตุ
เซอร์คิทเบรคเกอร์ 3 ตัวด้านขวา ที่ผมเขียนอักษรกำกับไว้และที่ตัวควบคุมความเร็วหัวสปินเดิล ที่ผมเอาสายแลนสีเหลืองเสียบไว้ และดูภาพต่อไป
ชัดๆนะ ที่ตัวปรับความเร็ว
มาจากโรงงานทีแรก เราไม่ชิน และไม่สะดวก ที่ต้องก้มๆ เลยๆ ปิดๆ เปิดๆ ฝาตู้คอนโทรลเพื่อมาปรับความเร็วหัวสปินเดิล
ช่างก็น่าเตะสักป๊าบ... เค้าก็ไม่บอกว่ามันถอดหน้าปัทม์แยกไปยึดที่ไหนๆก็ได้ ทีแรกเลยผมกะยกไปทั้งชุด ไปหาที่วางใกล้แท่นเครื่องจักร พอมาลูบคลำๆ เอ๊ะคู่มือมันบอกว่าถอดได้นี่หว่า เลยลองดึงดู เฮ้ย.. หลุดติดมือมาเลย 555555 คู่มือบอกอีกว่ามันให้ใช้สายแลน
แบบตรงเสียบต่อพ่วงกันได้เลย ก็ลองต่อแล้วเปิดเครื่อง เสี่ยงเดี้ยง..ด้วยนะ พอเปิดระบบมันทำงานปกติ มีเฮครับ เลยย้ายมันไปวางข้างหน้าจอคอมป์ (ดูภาพต่อไปนะ)
จากนั้นมาภาพนี้ ให้ดูเซอร์คิทเบรคเกอร์ที่ผมใส่เพิ่ม 3 ตัว (นับจากขวาไปซ้าย)
นี่แหละที่ผมลงกราวด์ระบบต่างๆ เพื่อทดสอบว่ามันไปรบกวนระบบคำสั่งต่างๆให้ทำงานผิดเพี้ยนหรือไม่ ให้ดูว่าผมแยกระบบกราวด์ไว้ 3 ส่วน คือ
1. กราวด์ระบบไฟฟ้าเอซี คือไฟจ่ายเข้าระบบนั่นแหละ ตัวนี้มีผลด้วยกับกราวด์คอมพิวเตอร์
2. กราวด์ตัวตู้คอนโทรล
3. กราวด์แท่นเครื่อง คือแท่นโต๊ะเครื่อง cnc
ที่ต้องแยกแบบนี้ เพราะว่าเวลาผมทำงาน จะมีไฟฟ้ารั่วลงตู้คอนโทรล และลงแท่นโต๊ะ cnc เวลาไปสัมผัสในบางเงื่อนไข มันก็ดูดมั่งไม่ดูดมั่งแล้วแต่ว่ามันทำงานอยู่เงื่อนไขไหน บ๊ะแบบนี้รำคาญสิ มันดูดเจ็บๆ คันๆ เลยต้องทำชุดระบบกราวด์ไว้ดังที่เห็น คือให้เรายกเบรคเกอร์ตัวที่ต้องการ ว่าไฟดูดหายมั๊ย (จริงๆรู้แล้วหล่ะ ว่ามันต้องหาย จะบร้าเรอะ...) แต่เราเน้นดูผลการรบกวนคำสั่งระบบครับ ว่ายกตัวที่1นี้จะกวนมั๊ย แล้วก็ทดสอบระบบไปหนึ่งวัน ถ้าไม่มีผลต่อคำสั่ง ก็ยกเบรคเกอร์ตัว2ต่อไป แล้วดูผลอีกหนึ่งวัน จากนั้นวันที่3 ก็ยกตัวที่3 แล้วทดสอบตามขั้น ผลคือไม่มีอะไรในกอไผ่ คำสั่งต่างๆทำงานไม่ผิดเพี้ยนครับ
แต่ช้าก่อน จะว่าคำสั่งทำงานผิดเพี้ยนมั๊ย คือก่อนหน้านั้นผมได้ใส่เจ้าตัว ferrite core ตามจุดต่างๆที่สันนิษฐานว่าจะเกิดการรบกวนไปหมดแล้ว ท่านดูภาพต่อไปได้เลย และสำคัญไปกว่านั้น สายนำสัญญาณจากตู้คอนโทรลที่ไปหาโต๊ะ cnc มันยาวเอาการ นี่แหละที่เป็นข้อถกเถียงของ
กูรู หรือ กูไม่รู้ ที่ว่ากันไป เดากันไปว่ามันยาวไม่ได้ ไม่งั้นมันมีปัญหารบกวนแน่นอน สำหรับเครื่องของผมผ่านครับ แต่ถ้าไม่ผ่านผมเตรียมท่อเฟล็กอ่อนโลหะไว้เปลี่ยนแล้ว เพราะจุดนี้ถือว่าสำคัญครับอันนี้เรื่องจริง
*** เพราะการเดินสายสัญญาณที่ไม่มีการชีลด์มันเกิดการรบกวนแน่ๆ เรื่องแบบนี้สำหรับคนทำงานสื่อสารวางระบบสื่อสัญญาณทุกคน จะมามองข้ามไม่ได้แน่ๆ มันเป็นเรื่องคอขาดบาดตายเลยทีเดียว ที่ช่างทั่วไปละเลยมองข้าม
วันนี้เครื่องผมยังไม่เกิด แต่ถ้าวันไหนผมว่างผมเปลี่ยนแน่เพราะมันผิดหลักการชัดๆ และชัดเจนซ๊ะด้วย ***
ที่ชัดเจนกว่านั้น ถ้าใครเคยเห็นเสาสถานีทวนสัญญาณที่มีจานไมโครเวฟอยู่บนเสาทาวเวอร์สูงๆ (เสารีพีทเตอร์ ที่มีรูปสายฟ้าฟาด ที่ฝาครอบจาน) ที่ทำลิ้งค์กันระยะไกล 5-50 กม. หรือมากน้อยกว่านั้น ในเมืองหรือในป่านั่นแหละ ถ้าระบบป้องกันสัญญาณรบกวน พูดง่ายๆคือระบบกราวด์ไม่ดี หรือมีแต่ก็ยึดตำแหน่งลงกราวด์มั่วซั่วจะเห็นผลชัดคือแทนที่จะยิงในพิกัดต้องการ 50 กม. แต่ความเป็นจริงกลับไม่ถึง ต้องมาหาสาเหตุกันอีกว่าเกิดจากปัญหารัยว๊ะ... ตาเหลือกครับถ้าเป็นในป่า... นี่แหละถึงบอกว่าระบบกราวด์สำคัญอันดับต้นๆ จะมาต่อจุดลงกราวด์มั่วซั่วไม่ได้ ต่อผิดที่ผิดทางกลับมีผลเสียปัญหาตามมาไม่จบสิ้น...