งานติดตั้ง WiFi 3 จุด วัดป่าภูหายหลง
วัดป่าภูหายหลง
หมู่ 11 บ้านซับสำราญ ต.วังกะทะ
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 พิกัดที่จอดรถวัดป่าภูหายหลง
14.532629, 101.579297(ssid ชื่อ WiFi 1 .....) Modem Router WiFi เป็นต้นทางของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตนะครับ
(ssid ชื่อ WiFi 2 .....) จุดติดตั้งจุดที่1 - จัดไป เสา 5 สล็อด 2 ต้น รุ่น swg 24-051 แบบทิศทาง
- UBiQUiTi Rocket M2 (Wireless-N 150 Mbps) แบบรองรับ 2 เสา
จุดประสงค์เพื่อส่งสัญญาณไปที่ลานจอดรถด้านล่างซ้ายทั้งหมด และอาคารเอนกประสงค์ด้านขวาทั้งหมด
(ssid ชื่อ WiFi 3 .....) จุดติดตั้งจุดที่2 - จัดไป เสา 5 สล็อด 1 ต้น รุ่น swg 24-051 แบบทิศทาง
- UBiQUiTi Pico Station M2HP (Wireless-N 150 Mbps)
ยึดบนเสาทาวเวอร์ของ CAT จุดประสงค์รับ/ส่งสัญญาณแบบเน้นๆเข้าไปในโบสถ์และด้านขวาให้แรงสุดๆ เพื่อลิ้งค์กับกล้องวงจรปิดในโบสถ 4-5 ตัว นั่นหมายถึงคุณภาพสัญญาณที่ลิ้งค์กล้องต้องราบรื่นไม่ดีเลย์สัญญาณภาพ
(สายอากาศต้นนี้ SSID WiFi 3 ที่รีสอร์ทศาลาเขาใหญ่ ห่างออกไป 2.4 กม. น่าจะรับสัญญาณได้)
(ssid ชื่อ WiFi 4 .....) จุดติดตั้งจุดที่3 จัดไปของแรง
- UBiQUiTi Rocket M2 (Wireless-N 150 Mbps) แบบรองรับ 2 เสา
- เสา 8 สล็อด 1 ต้น รุ่น swg 24-081 แบบทิศทาง
กดหน้าสายอากาศเพื่อจ่ายสัญญาณลาดลงมาตามบันใดทางขึ้นโบสถ์ และลานจอดรถ3 ด้านซ้าย
- เสา 16 สล็อด 1 ต้น รุ่น swg 24-161 แบบทิศทาง
จุดประสงค์เพื่อจ่ายสัญญาณให้กุฏิด้านซ้ายของโบสถ์ รองรับเจ้าหน้าที่ของวัดที่พักด้านซ้ายของโบสถ์ และไว้สำหรับลิ้งค์ระบบต่างๆที่จะมีในอนาคต ทิศทางของสายอากาศต้นนี้จ่ายด้านซ้ายของโบสถ์เป็นแนวทิศทางเดียวกับ
รีสอร์ทศาลาเขาใหญ่ (Sala Khaoyai) พิกัดจีพีเอส 14.514965, 101.565375 ที่ห่างจากวัดในระยะ 2.4 กม. น่าจะรับสัญญาณ WiFi ของวัดได้ในระดับที่ดี วันไหนผมว่างจะขับรถไปวัดสัญญาณจุดนั้นมาให้ดูครับ และเสาต้นนี้แหละครับที่ด้านหลังมันส่งไปถึงบ้านผม
เสา Slotted Waveguide ตระกูลนี้แรงมากขนาดด้านหลังเสานะครับ (SSID ชื่อ WiFi 4 ใช้เสารุ่น swg 24-161) จากยอดเขาลงมาหลังบ้านผมระยะ 2.3 กิโลเมตร ยังรับสัญญาณได้ เดี๋ยวจะจัดรูปที่มีพิกัด GPS มาให้ดูนะครับพิกัดจุดติดตั้งสายอากาศ 16 สล็อด swg24-161 พิกัดนี้ 14.532057, 101.578511
มานั่งหลังบ้านผมวัดสัญญาณได้ที่พิกัดนี้ 14.540912, 101.597478
ตัวแอคเซสพ้อยที่ใช้จ่ายWiFiUBiQUiTi PicoStation M2HP แบบเอ้าดอร์เสาเดียวมาปลดเสาคู่ตัวที่ไปไม่ไกลทิ้ง แล้วมาใส่เสาภายนอกแบบสล็อดเวฟไกด์เพื่อเพิ่มระยะทางให้ไกลขึ้น
UBiQUiTi Rocket M2 ตัวนี้แบบรองรับสายอากาศแบบ 2 เสา เดิมไม่มีเสามาให้เราก็จัดสายอากาศภายนอกแบบสล็อดเวฟไกด์เพื่อเพิ่มระยะทางให้ไกลขึ้น
จริงๆแล้วเอาตัวแอคเซสพ้อยในบ้านที่ผู้ให้บริการติดตั้งเน็ตติดให้เรามาใส่กล่องกันน้ำแล้วใส่เสาภายนอกก็เพิ่มระยะทางได้เหมือนกันครับ แต่ถ้าใช้พวกเอ้าดอร์มันจะสะดวกกว่าเพราะตัวมันเองกันน้ำตากแดดตากฝนได้เลยครับ ราคาก็แน่นอนครับจะสูงกว่าแบบในบ้านประมาณ 1 พันขึ้นไป
และเพื่อให้ภาพงานติดตั้งชัดเจน ควรดูวีดีโอยูทูปประกอบไปด้วยครับผม
ขอบคุณเจ้าของวีดีโอยูทูปทุกท่านที่ผมนำมาใช้อ้างอิงประวัติวัดป่าภูหายหลงพอสังเขป
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1680
วัดป่าภูหายหลง
หมู่ 11 บ้านซับสำราญ ต.วังกะทะ
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130
พระอาจารย์ประพันธ์ อนาวิโล (ครูจารย์สุ่ม) เจ้าอาวาส
วัดป่าภูหายหลง เป็นวัดในปฏิปทา หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
ประวัติวัดป่าภูหายหลง : เมื่อประมาณ 60-70 ปีที่แล้ว สภาพภูมิประเทศแถบวัดป่าภูหายหลงแห่งนี้ ซี่งประกอบไปด้วยหมู่บ้าน 3 แห่งคือ หมู่บ้านซับสำราญ หมู่บ้านเขากอย และหมู่บ้านเพิ่มสมบัติ มีลักษณะเป็นเทือกเขาและป่าทึบ การคมนาคมเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่ง ทำให้โอกาสในการทำบุญของชาวบ้านลดน้อยลงตามไปด้วยเนื่องจากวัดที่มีอยู่ในละแวกนั้นก็อยู่อีกหมู่บ้านหนึ่งห่างไกลกันมาก นานๆ ครั้งจึงจะมีพระธุดงค์ที่แสวงหาความวิเวกมาโปรดชาวบ้านพอให้ได้ปิติในผลบุญบ้าง
ต่อมาได้มีพระรูปหนึ่งเดินธุดงค์ผ่านมา ชื่อ พระอาจารย์หลง (ไม่ทราบฉายา) ชาวบ้านเกิดความศรัทธายิ่งและอยากให้ท่านเป็นหลักของจิตใจ จึงได้อาราธนาพระอาจารย์หลงให้ท่านจำพรรษาที่ภูเขากอย (บางคนก็เรียกว่าภูเขาหลงเนื่องจากเป็นชื่อที่ปรากฏในแผนที่ทหาร) โดยชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างเสนาสนะเป็นที่พักสงฆ์ และทำทางขี้นลงเขาให้พระภิกษุเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจ โดยตั้งชื่อวัดว่า วัดภูเขากอย เมื่อปี พ.ศ.2482
ชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้านได้ผลัดเวียนกันขึ้นมาดูแลวัดและอุปัฐากพระภิกษุสงฆ์อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด การพัฒนาก็มีมากขึ้นตามไปด้วยทั้งการพัฒนาวัดและการพัฒนาทางด้านจิตใจของชาวบ้านเนื่องจากพากันขึ้นมาบำเพ็ญบุญปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้นด้วย
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2506 นิคมสร้างตนเองลำตะคอง กรมประชาสงเคราะห์ได้เข้ามาจัดสรรที่ดินให้กับประชาชนเพื่อทำการเกษตร แต่เนื่องจากวัดภูเขากอยได้ตั้งขึ้นมาก่อนและด้วยพื้นที่ของภูเขามีความลาดชันสูง ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ทางนิคมสร้างตนเองจึงได้เว้นพื้นที่ของภูเขากอยทั้งหมดให้กับทางวัดได้ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจ ดูแลรักษา และพัฒนาให้เกิดสาธารณะประโยชน์กับ 3 หมู่บ้าน
ต่อมาประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 พระอาจารย์ประพันธ์ อนาวิโล (ครูจารย์สุ่ม) ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่หล้า เขมปัตโต แห่งวัดป่าภูจ้อก้อ จ.มุกดาหาร ได้มีโอกาสมาพำนักที่วัดแห่งนี้ ซึ่งสภาพตอนนั้นเป็นทุ่งหญ้าคา มีต้นไม้เล็กๆ ขึ้นประปราย เสนาสนะมีเพียงกุฏิและศาลาหลังเล็กๆ ไม่มีพระประจำวัดนานแล้ว ชาวบ้านนำโดยผู้ใหญ่ประหัส ทองจันเอกจึงได้อาราธนาพระอาจารย์ประพันธ์ให้เป็นหลักศาสนาและศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้าน
พระอาจารย์ประพันธ์ อนาวิโล จึงได้ตั้งชื่อวัดขึ้นมาใหม่เพื่อความเป็นสิริมงคลว่า วัดป่าภูหายหลง อันมีความหมายว่า เป็นดินแดนแห่งความหลุดพ้นจากความหลงทั้งปวง นั่นหมายถึงพุทธบริษัท 4 ที่มาปฏิบัติธรรมจะมองโลกตามความเป็นจริง ไม่หลงมัวเมาอยู่ในกิเลสตัณหา โลภะ (โลภ) โทสะ (โกรธ) โมหะ (หลง) หลุดพ้นจากความทุกข์ ความไม่เที่ยง และความไม่มีตัวตน (ความหลงในอัตตา) ก้าวข้ามล่วงพ้นทะเลหลง มุ่งตรงสู่พระนิพพานต่อไป
พระอาจารย์ประพันธ์ อนาวิโล (ครูจารย์สุ่ม)