กราบบบบบบบบบ สวัสดี มิตรรักแฟนเพลง วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับหัว Connector ต่างๆ ของ Fiber Optic กัน
เนื่องด้วย สาย Fiber Optic ที่มีอยู่ทั่วๆ ไป มันดันมีหัวมากมายหลายประเภท ไม่เหมือนกับสาย Lan ที่มีหัวแค่ชนิดเดียว ก็คือ RJ45 จำง่าย ใช้ง่าย ไม่ต้องคิดมาก
อย่าช้าไปเลย มา เริ่มเบยย
หัว SC แบบภาพข้างบนเรียกว่า หัว SC ครับ มันยังไม่จบ มันมี 3 สีเห็นเปล่า ใช่เลย 3 สี ก็ 3 ชนิด ถึงจะเรียกว่า SC เหมือนกันก็เถอะ เริ่มจาก
1. สีขาวเทา ซ้ายมือสุด หัว SC ชนิดนี้จะใช้กับสาย Fiber Optic Multi Mode ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากสาย Multi Mode ไม่ค่อยใช้กันแล้ว
2. สีน้ำเงิน ที่อยู่ตรงกลาง หัว SC ชนิดนี้ ใช้กับสาย Single Mode จะพบได้ทั่วๆ ไปตามบ้าน เนื่องจากงาน FTTx จะใช้งานหัวแบบนี้เป็นหลัก เนื่องจากถอดง่ายมาก เสียบง่ายมาก และถ้าถอดๆ เสียบๆ บ่อยๆ ก็เสียง่ายมาก T_T”
3. สีเขียว ที่อยู่ขวามือสุด เป็นหัว SC ที่ใช้กับสาย Single Mode เหมือนกัน แต่!! Detial ของหัวไม่เหมือนกัน
คือไอ้หัวแบบนี้ หน้าตัดของแกน Fiber Optic จะเอียงเล็กน้อย เพื่อให้มันรับกัน ซึ่ง เขาบอกว่า มันมีค่า loss น้อยกว่าหัวสีน้ำเงินมาก เวลานำมันมาต้อเข้าด้วยกัน แบบหัวชนหัว ด้วย Connector แบบต่อตรง SC to SC ส่วนใหญ่จะพบเจอได้ตามงาน CCTV CATV หรืองาน ระบบสัญญาณภาพ ที่ไม่ได้วิ่งบน TCP แต่เอาเข้าจริงๆ จะเอาไปใช้งาน Network มันก็ไม่ผิด ก็ใช้กันเยอะแยะ
หัว ST ด้านบนคือหัว ST ตัวหัว ST นี่ก็มีทั้ง Multi Mode และ Single Mode เช่นกัน แต่ถ้าดูที่สีหัว เราจะแยกแยะไม่ได้ เพราะมันไม่มีสี มันเป็นโลหะสีเงินเหมือนกัน แต่เราจะแยกได้ที่ปลอก โดย
- ถ้าเจอปลอกสีเหลือง ฟันธงเลยว่าเป็น Single Mode แน่นอน
- แต่ถ้าเป็นสีอื่น จะเป็นสาย Multimode ซะส่วนใหญ่ครับ
หัวชนิดนี้ ไม่ค่อยพบเจอได้ทั่วไปนัก เท่าที่ทำงานมา จะนิยมใช้กับงาน Multi Mode ที่เก่าๆ เอามากๆ เก่าโคตรๆ แบบงานเมื่อสัก 10 ปีที่แล้ว จะได้พบหัวแบบนี้อยู่บ้าง หัวชนิดนี้จะเป็นหัวคล้ายๆ กับหัว BNC ของงานกล้องวงจรปิด หรืองาน TV นั่นคือ มันจะเป็นสปริง เวลาเสียบลงล็อค แค่บิดเบา มันก็จะล็อค ทันที
หัว FC อันนี้คือหัว FC สำหรับหัว FC ตอนนี้ผมเข้าใจเองว่า เป็นที่นิยมมาก ในการทำ Patch Panel โดยเฉพาะงาน Network ของค่ายโทรศัพท์ทั้งหลาย แน่นอนว่า หัว FC นี้ ก็มีทั้ง Single Mode และ Multi Mode เช่นกัน โดยสาย
- Single Mode จะมีปลอกเป็นสีเหลือง หรือ ปลอกสีน้ำเงินแบบในภาพ
- แต่ถ้าเจอปลอกสีขาว ก็เป็น Multi Mode นะครับ
สำหรับหัว FC นี้ เป็นหัวเกลียว ที่เวลาเราเสียบแล้ว เราจะต้องหมุนเกลียวเข้าให้สุด ข้อดีของมันคือ แน่นมากๆ แข็งแรง ทนทานกว่าแบบ ST เยอะ แต่ก็โคตรยุ่งยากในการทำงานเช่นกัน
หัว LC สำหรับหัว LC เป็นหัวที่มีขนาดเล็ก น่าจะเล็กที่สุด ในบรรดาหัวต่างๆ นิยมในต่อเข้ากับ Convertter หรือ GBIC หรือ SFP ถ้าแบบคู่ เรียก Duplex แบบเดียวเรียก Simplex มีทั้งแบบ Single Mode และ Multi Mode เช่นกัน ข้อสังเกตุง่ายๆ เหมือนกัน คือดูที่สี
- สีน้ำเงิน เหลือง Single Mode
- สีขาวๆ เทาๆ ก็ Multi Mode (ในภาพ คือ Single Mode)
หัวนี้มีข้อดีคือ มันถอดเสียง่ายมาก แค่เอามือแบบ แล้วดึงออก หรือเสียบให้ดังแกร๊ก ใช้ได้
ส่วนหัว จำพวก MU E2000 MT SMA พวกนี้ ผมยังไม่เคยใช้ แต่มีคนบอกว่า งานเสียงที่เป็น Digital ก็มีใช้นะ แบบที่ต่อ Optic ออกจากเครื่องเลย แต่ผมเองก็ยังไม่เคยใช้นะครับ เลยให้ความรู้ตรงนี้ไม่ได้
ให้สังเกตุ Connector ตัวต่อตรงทั้งหลายในภาพนะครับ โดยเฉพาะแบบ Hybrid ที่จะแปลงข้ามรุ่นกันได้เลย คือไม่ต้องแปลกใจ เนื่องจาก หลักการของมันคือ ให้เอาหน้าสัมผัสของแก้วที่เรียบ มาจ่อไว้ใกล้ๆ กัน โดยไม่มีแสงรบกวนจากภายนอก แค่นั้น มันก็ส่งสัญญาณต่อไปได้แล้วครับ อ้ออีกอย่างนึงคือ
ตัวต่อแบบนี้ loss สูงโคตรๆ นะครับ ไม่แนะนำให้มีข้อต่อแบบนี้ ในระบบเยอะๆ ไม่ดีๆ
Patch Cord สาย Patch Cord คือสาย Fiber Optic สำเร็จรูป ที่เข้าหัวเรียบร้อย พร้อมใช้งาน แบบในภาพนะครับ ไม่จำเป็นที่หัวสองฝั่งจะเหมือนกัน สายเป็นสาย Patch Cord แบบ FC to LC แบบ Duplex แบบนี้ หมายถึง ฝั้งนึงเป็น FC ฝั่งนึงเป็น LC และต้องมีสองเส้นคู่กันนะครับ แต่ถ้าจะเอาเส้นเดียว ก็ให้เรียกว่า Simplex แทน
Pigtail สาย Pigtail แบบในภาพคือ SC Pigtail คือสายที่เข้าหัวมาแค่ด้านเดียว ส่วนอีกด้านเป็นสายเปล่า
สายพวกนี้ไว้ใช้สำหรับงานเชื่อม Splice สาย Fiber Optic จากสายใหญ่ๆ ที่ลากกันตามท้องถนน แล้วมาเข้ากล่อง แล้วก็เอาปลายพวกนี้แหละต่อออกมาครับ ซ้ายมือเราเรียกว่า SC Pigtail NO Jacket ส่วนขวามือ เราก็เรียกเหมือนกัน แต่เราจะบอกว่า มันมี Jacket ครับ
Patch Panel Patch Panel คือ กล่องสำหรับเก็บรอยต่อปลายสาย ให้นึกถึง เวลาเราเดินสายดำๆ มา แล้วเราก็จะเอามาเข้า Pigtail ใช่ป่ะครับ เราก็จะต้องมี Patch Panel เพื่อเก็บรอยต่อให้แข็งแรงทนทาน และสวยงาม รวมถึง จะได้ง่ายต่อการใช้งานด้วยครับ
Enclosure Enclosure หรือกล่องสีดำๆ ที่ห้อยอยู่ตามเสาไฟฟ้า หน้าตาเหมือนในภาพเนี่ย เราไว้ใช้สำหรับ ต่อสาย Fiber Optic พวกสาย Out Door กับสาย Out Door ด้วยกัน คือมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ที่เราจะลากสายเป็น 100 กม โดยไม่มีรอยแต่ และนี่แหละ คือกล่องเก็บรอยต่อครับ ส่วนชื่อ ผมอ่านว่า เอ็นโครเช่อ
ODF ตู้ ODF ตู้แบบนี้ ก็ไว้เก็บสาย รอบเชื่อม Fiber Optic เหมือนกับ Patch Panel แหละ แต่อันนี้ เป็นชนิดยึดกับผนังครับ กันแดด กันฝนได้ ประมาณนึง ส่วนใหญ่พบเจอได้ตาม เสาโทรศัพท์ ต่างๆ ครับ
เท่าที่นึกๆ ออก ก็จะมีประมาณนี้นะครับ ชื่อ และอุปกรณ์ ต่างๆ ที่เรียกๆ กัน เดี๋ยวไว้คราวหน้านึกไรออก จะมาแชร์ ไว้ใหม่ครับ
เครดิตบทความและภาพทั้งหมดนี้เป็นของคุณเฟซบุ๊ค คุณศุภโชค พรไชยะสิทธิ์, 3 สิงหาคม 2016